
วิศวกกรมโยธา อาชีพในฝันต้องเรียนอะไรบ้าง
วิศวกกรมโยธา อาชีพในฝันต้องเรียนอะไรบ้าง
วิศวกกรมโยธา อาชีพในฝันต้องเรียนอะไรบ้าง สวัสดีน้อง ๆ ระดับมัธยมทุกคน ที่กำลังมองหาคณะในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย หรือระดับอุดมศึกษอยู่ เชื่อว่าคณะในฝัน หรืออาชีพในฝันของน้อง ๆ หลายคน ต้องมีคำว่า วิศวกรรมโยธา รวมอยู่ในนั้นแน่นอน บทความเกี่ยวกับการศึกษาวันนี้ จึงขอบอกเล่าเรื่องราวของวิศวกรรมโยธา ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง และมีสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกี่สาขา รวมถึงบอกว่ามหาวิทยาลัยไหนในประเทศไทย เปิดสอนคณะนี้บ้าง เพราะการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ หากน้อง ๆ มีความรู้ที่แน่นตั้งแต่ยังไม่เริ่ม ก็จะทำให้มีพื้นฐาน และช่วยในเรื่องการตัดสินใจได้อย่างเฉียบขาด

วิศวกรรมโยธา เรียนเกี่ยวกับอะไร?
สำหรับน้อง ๆ ที่เลือกเรียนทางด้านวิศวกรรมโยธา เมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาแล้ว น้อง ๆ จะต้องมีการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า (กว.) เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกร หรือ นายช่าง เสียก่อน จึงจะสามารถประกอบอาชีพได้เกี่ยวกับวิชาที่เรียนมาได้ ส่วนวิชาเรียนที่น้อง ๆ จะต้องเจอเมื่อเข้าศึกษาต่อทางด้านนี้ ก็อย่างเช่น การเขียนแบบวิศวกรรม กลศาสตร์ของไหล โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร วิศวกรรมชลศาสตร์ ธรณีวิทยาวิศวกรรม การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก การออกแบบโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหว วิศวกรรมชลประทานและการระบายน้ำ การออกแบบผิวจราจร และวิศวกรรมการขนส่ง เป็นต้น วิศวกรรมเป็นสาขาวิชาหนึ่ง ที่ผู้เรียนต้องพากเพียรและอุตสาหะมาก ๆ แต่เมื่อจบการศึกษามาแล้ว จะมีงานดี ๆ รองรับน้อง ๆ แน่นอน
สาขาย่อย ของวิศวกรรมโยธา
1. วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)
สาขาแรกที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา คือ วิศวกรรมโครงสร้าง หรือ Structural Engineering เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณสิ่งก่อสร้างชนิดต่าง ๆ ฉะนั้น การศึกษาในสาขานี้จะเน้นไปทางด้านงานคำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อหาวัสดุและขนาดของวัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การก่อสร้างอาคาร เขื่อนหรือสะพาน เป็นต้นค่ะ
2. วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management)
สาขาที่สองของวิศวกรรมโยธา คือ วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดกา หรือ Construction Engineering and Management สาขานี้จะศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษาทางด้านระบบการสร้างอาคาร การวางแผนงาน การประเมินราคาค่าก่อสร้าง แต่ในบางสถาบันจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายในอาคารร่วมไปด้วย
3. วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering)
สาขาย่อยอีกอย่างของวิศวกรรมโยธา คือ วิศวกรรมขนส่ง หรือ Transportation Engineering ส่วนใหญ่แล้วการศึกษาแยกเป็น 2 สาขาหลัก คือ ระบบและวัสดุ ที่เป็นงานทางด้านระบบจะ โดยเน้นทางด้านการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจร ผู้เรียนจะต้องทำการศึกษาถึงประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน สำหรับงานทางด้านวัสดุจะเน้นในการศึกษาวัสดุในการทำถนน ได้แก่ คอนกรีตและยางมะตอย เป็นหลัก โดยศึกษาถึงกรรมวิธีในการสร้างถนนและปรับปรุงถนน เป็นต้นค่ะ
4. วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering)
วิศวกรรมเทคนิคธรณี หรือ Geotechnical engineering เป็นการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ และวิศวกรรมของดินโดยเฉพาะ เพื่อนำมาการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาโดยตรง
5. วิศวกรรมธรณี (Geological engineering)
วิศวกรรมธรณี หรือ Geological engineering เป็นการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ ในส่วนของวิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อทำการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธารวมถึงเหมืองแร่ด้วย
6. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือ Environmental Engineering เป็นอีกสาขาที่คนนิยมเรียนเป็นจำนวนมาก โดยสาขานี้จะศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพของของเสียต่าง ๆ นั่นเอง
7. วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (Water Resource engineering)
วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ หรือ Water Resource engineering เป็นการศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคูน้ำ คลอง และแม่น้ำต่าง ๆ อีกด้วย
8.วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
วิศวกรรมสำรวจ หรือ Survey Engineering จะศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้านจีพีเอส (GPS) และภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics หรือ Geographic information system : GIS) นั่นเองค่ะ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิศวกรรมโยธา
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีมหานคร
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
- สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.บูรพา
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
- สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
- สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
- สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.รามคำแหง
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

จบวิศวกรรมโยธา ทำอะไรได้บ้าง?
- วิศวกรก่อสร้าง
- วิศวกรโครงการ
- วิศวกรด้านผลิตภัณฑ์วัสดุ
- วิศวกรสำรวจเส้นทางในการสร้างถนนหรือระบบขนส่ง
- วิศวกรที่ปรึกษา บริษัทผลิตภัณฑ์วัสดุ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง
- ทำงานในหน่วยงานของรัฐ
- ทำงานในหน่วยงานเอกชน
ทั้งหมดนี้คือความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับคณะวิศวกรรมโยธา ที่ถือเป็นอาชีพในฝันของน้อง ๆ หลาย ๆ คน จำไว้เสมอว่าปลายทางไม่สำคัญเท่าเรื่องที่ต้องเจอระหว่างทาง ก่อนที่น้อง ๆ จะไปถึงจุดหมายได้ น้อง ๆ จะต้องทำเรื่องระหว่างทาง นั่นคือการศึกษาเล่าเรียนวิชาต่าง ๆ ที่เหล่าคณาจารย์สอนให้ดีเสียก่อน แล้วสุดท้ายปลายทางซึ่งเป็นความสำเร็จสูงสุด จะดีเองจากผลพวงระหว่างทางที่น้อง ๆ ทำมา
4 ละครฮิตของคิมซูฮยอน ในวงการเอนเตอร์เทรนเม้นเกาหลีใต้ หรือวงการเอนเตอน์เทรนเม้นของเอเชีย เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จัก คิมซูฮยอน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามีแห่งชาติของเกาหลี
บทความที่ไม่ควรพลาด : COM7