COM7 กับกลยุทธ์สู้พิษ COVID-19 ที่สร้างกำไรได้!

COM7 กับกลยุทธ์สู้พิษ COVID-19 ที่สร้างกำไรได้!

บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7  ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีก IT ของประเทศไทย ที่มุ้งเน้นการขายปลีกสินค้า IT ทั่วประเทศ โดยคาดว่ากำไรสุทธิสำหรับปี 2564-2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 19% ต่อปี โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตของยอดขายต่อสาขาเดิม หรือ SSS ที่แข็งแกร่ง, การขยายร้านค้าอย่างต่อเนื่อง, อัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น จากการปรับ Product Mix ให้ตัวสินค้าที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงขายได้มากขึ้น และอัตราส่วน SG&A-to -sales  ที่ลดลง โดยแนะนำซื้อ ให้ราคาเป้าหมายที่ 46 บาทต่อหุ้น

COM7 กับกลยุทธ์สู้พิษ COVID-19 ที่สร้างกำไรได้!

                “เรื่องไอที เป็นเรื่องกล้วยๆ สำหรับทุกคน” ประโยคนี้เป็นคอนเซ็ปต์ของร้าน BaNANA หนึ่งในแบรนด์ร้านขายสินค้าไอทีภายใต้บริษัท COM7 คุณรู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว COM7 เริ่มจากร้านเล็กๆ ในห้างพันธุ์ทิพย์เมื่อ 23 ปีที่แล้วในปัจจุบันบริษัท COM7 มีเชนร้านขายสินค้าไอทีรวมกัน 368 สาขา และบริษัทมีมูลค่า 20,760 ล้านบาท

COM7 มีกลยุทธ์น่าสนใจอย่างไร?

ย้อนกลับไปปี 2539 หรือ 23 ปีก่อน คุณสุระ คณิตทวีกุล เริ่มต้นธุรกิจขายคอมพิวเตอร์ที่ห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่าภายใต้ชื่อร้าน BIG IT และต่อยอดทำธุรกิจค้าส่งสินค้าไอทีให้กับร้านค้าทั่วประเทศ ขณะนั้น ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 60 ล้านคน แต่คนไทยเข้าถึงคอมพิวเตอร์ไม่ถึง 6 ล้านคน

แสดงให้เห็นว่าโอกาสทางธุรกิจและพื้นที่ในการเติบโตของธุรกิจไอทียังมีอยู่มาก อย่างไรก็ตาม ต่อมาตลาดค้าส่งไอทีเริ่มมีการแข่งขันสูง รวมไปถึงคู่แข่งรายใหญ่และบริษัทข้ามชาติเริ่มเข้ามาแย่งส่วนแบ่ง คุณสุระ จึงมองว่าธุรกิจค้าปลีกยังมีพื้นที่ให้เติบโตมากกว่า และจุดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรCOM7

“คนไม่ได้อยากมาพันธุ์ทิพย์แต่เพราะไม่มีที่ไป เลยต้องมาที่นี่” เรื่องนี้เป็นไอเดียที่ทำให้ คุณสุระวางแผนการขยายธุรกิจไปยังห้างสรรพสินค้า เพราะมองว่าไลฟ์สไตล์คนไทยกำลังเปลี่ยนไป ตอนนั้นในห้าง ไม่มีคู่แข่งหากเริ่มก่อน COM7 จะเป็นเจ้าแรกทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของร้าน BIG IT สาขาแรกที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว ผลปรากฏว่า ร้านในห้างขายดี ความคิดที่จะสร้างแบรนด์เพื่อเข้าถึงคนทั่วไปก็ตามมา

จนในที่สุดกลายมาเป็นแบรนด์ BaNANA ด้วยคอนเซ็ปต์ ไอทีเป็นเรื่องกล้วยๆ สำหรับทุกคน หลังจากนั้น COM7 ได้ขยายกิจการโดยปัจจุบันเป็นเจ้าของร้านต่างๆ ดังนี้ BaNANA 161 สาขา, Studio7 98 สาขา, BaNANA Mobile, Samsung Shop, Oppo Shop, Vivo Shop รวมกัน 79 สาขา ร้านบริการ iCare และอื่นๆ รวมกัน 368 สาขา

นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ในการบริการ True Shop อีก 68 แห่ง แล้วผลประกอบการบริษัท COM7 เป็นอย่างไร? ปี 2559 รายได้ 17,212 ล้านบาท กำไร 407 ล้านบาท ปี 2560 รายได้ 22,584 ล้านบาท กำไร 609 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 27,913 ล้านบาท กำไร 893 ล้านบาท

COM7 กับกลยุทธ์สู้พิษ COVID-19 ที่สร้างกำไรได้!

จะเห็นได้ว่ารายได้ของCOM7 เติบโตเรื่อยมา และที่น่าสนใจ คือ การเติบโตของกำไรเร็วกว่า การเติบโต ของรายได้ ซึ่งอาจแสดงให้เห็น ว่าบริษัทCOM7 สามารถบริหาร จัดการค่าใช้จ่าย ได้ดีนั่นเอง แล้วสัดส่วนรายได้ ของCOM7 มาจากอะไรบ้าง?

รายได้COM7 มาจาก โทรศัพท์มือถือ 49%, โน้ตบุ๊ก 20%, อุปกรณ์เสริม 16%, แท็บเล็ต 12%, คอมพิวเตอร์ 3% และงานบริการ 1% หลายคน อาจคิดว่าCOM7 มีรายได้จากการขายคอมพิวเตอร์แต่จากตัวเลขข้างต้น

บริษัทCOM7 มีรายได้ เกือบครึ่งมาจากการขายโทรศัพท์ อย่างไรก็ตามสาขาส่วนใหญ่จะเป็นสิทธิ์ในการขายสินค้าจาก Apple ภายใต้ชื่อ Studio7

หมายความว่า ถ้าสินค้าใหม่ๆ ของ Apple ไม่เป็นที่นิยม ก็อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อCOM7 ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ความเสี่ยงของธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่จะมาจากการบริหารสินค้าคงคลัง และการกระจายสินค้าไปยังหน้าร้านต่างๆ ซึ่งประเด็นที่สำคัญของธุรกิจค้าปลีกไอทีก็คือ “อายุขัยของสินค้า” ที่มาไว-ไปไว กว่าค้าปลีกกลุ่มอื่นๆ มาก ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าCOM7 จะเติบโตภายใต้เงื่อนไขมากมายเหล่านี้ได้ดีแค่ไหน

COM7 กับกลยุทธ์สู้พิษ COVID-19 ที่สร้างกำไรได้!

“ความท้าทายในการบริหารงานในช่วงโควิด-19 ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มรุนแรงในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัทฯ ต้องทยอยปิดสาขาอย่างต่อเนื่องเป็นการชั่วคราว โดยในเดือนเมษายนต้องปิดสาขาสูงสุดเป็นจำนวน 594 สาขา

และมีสาขาที่เปิดให้บริการเพียง 185 สาขา ซึ่งเป็นสาขาที่อยู่ในต่างจังหวัดและไม่ใหญ่มากนัก” สุระ กล่าวถึงมาตรการล็อคดาวน์ที่ภาครัฐบาลได้มีมาตรการปิดเมืองบางส่วน ปิดห้างสรรพสินค้า ทำให้ต้องปิดสาขาของบริษัทฯ เป็นการชั่วคราว ทั้งในกรุงเทพมหานครและในบางจังหวัด

สินค้าไอทีและสินค้าเทคโนโลยีเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความต้องการสูง แม้ในปี 2563 จะเป็นปีที่ท้าทายของบริษัท แต่เชื่อว่ารายได้จะยังคงเติบโตมากกว่าปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยบวกจากการเปิดตัวสินค้าใหม่ และ 5G กระตุ้นตลาดไอทีให้คึกคัก

รวมทั้ง การกลับมาเปิดสาขาได้ตามปกติ ซึ่งสิ้นปีน่าจะมีมากกว่า 955 สาขาจาก 779 สาขา ควบคู่การขยายช่องทางออนไลน์ และช่องทางใหม่ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยวางเป้าหมายรายได้ปีนี้เติบโต 10% ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมาบริษัทจึงมีการระบายสินค้า เพื่อเตรียมรองรับสินค้ารุ่นใหม่ที่จะเปิดตัวในช่วงครึ่งปีหลัง

ซึ่งบริษัทได้วางกลยุทธ์การขยายสินค้าให้มีความครอบคลุมยิ่งขึ้น พร้อมเดินหน้าขยายช่องทางการจัดจําหน่ายอย่างต่อเนื่อง และมองโอกาสในการเพิ่มช่องทางการขายอื่นๆ เช่น การรุกตลาดออนไลน์ การจําหน่ายสินค้า Click & Collect แบบ Drive Thru การเปิดร้าน Pop-Up Store ที่สํานักงานใหญ่ และการเปิดร้านแบบ Stand-Alone เพื่อกระจายความเสี่ยงให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

4 ทริค ทำอย่างไรแบรนด์ครองใจลูกค้าได้ ทำอย่างไรแบรนด์ครองใจลูกค้าได้ ปัจจุบันนั้นการสร้างแบรนด์หรือการทำธุรกิจนั้นมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้าเป็นสำคัญที่สุดจึงทำให้บรรดาแบรนด์เหล่านั้นประสบความสำเร็จได้

อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : เมนูคลีนทำง่าย อร่อยด้วย